How to Sketch #3 : วาดถึงแค่ไหน แค่ไหนถึงไม่วาด? Deciding What to Draw (Part 1)

in How to Sketch by Louis on 29 Jan 2016

สวัสดีคุณผู้อ่านที่นั่ลลักเป็นครั้งที่สาม

หากนี่คือการพบปะกันครั้งแรกของคุณ เราแนะนำให้กลับไปอ่าน How to Sketch ตอนที่ผ่านมาก่อนนะจ๊ะ
…คือไอสองตอนที่ผ่านมามันก็ไม่ได้มีความเชื่อมโยงอะไรกันหรอก แต่เราแค่อยากให้อ่านอ่ะะะ ทำไมอ่ะะะะะ

ล้อเล่น รักนะ อ่านเถอะ ทำตามด้วยก็เยี่ยมนะ มันดีกับคุณ <3

วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องที่เป็นคำถามคาใจหลายๆคนมาอย่างช้านานนนนว่า

ควรวาดถึงแค่ไหน? ตรงไหนควรปล่อย?

หลายๆครั้งเวลาที่เราอยู่ในสถานที่จริง ทุกๆสิ่งมันดูเหมือนจะสำคัญน่าวาดไปซะทั้งหมด(ห๊ะ อะไรนะ ไม่น่าวาดซักอย่างเลยหรอ555) ทั้งป้ายบอกทาง เสาไฟฟ้า ตึกด้านหลัง ฝูงชนที่อยู่ด้านหน้า …เราควรจะวาดถึงแค่ไหนถึงจะเหมาะสม ถึงจะออกมาสวย นี่ยังไม่นับเวลาที่มีไม่เพียงพอต่อการวาดทุกสรรพสิ่งที่สายตาเราพบเจอ

ระหว่างที่ผมกำลังนั่งหารูปตัวอย่างสำหรับบทความนี้อยู่เพลินๆ ก็ไปสะดุดกับบทความนึงของคุณลุง Frank Ching สถาปนิกและศิลปินฝีมือสุดติ่งกระดิ่งแมวท่านนึง สรุปใจความได้ว่า

เราไม่จำเป็นต้องวาดทุกสิ่งที่เราเห็น แค่จำสิ่งที่เรารับรู้แล้วแปลงมันออกมาเป็นภาพก็พอ

นั่นล่ะฮะ สรุปก็คือวาดตามที่ตาและใจเรารับรู้ อยากวาดตรงไหนก็วาด  ไม่อยากวาดตรงไหนก็เว้นไว้ จบ เอวัง
สำหรับวันนี้ลาไปก่อน สวัสดี

//โดนพี่ปอนด์และคุณผู้อ่านรุมกระทืบ

ฮ่าๆๆๆๆ ล้อเล่นๆๆ ที่ว่าวาดตามที่ตาและใจเรารับรู้นี่ก็พูดจริงๆนะ แต่ก็เป็นเพียงส่วนนึง วันนี้เราจะมาพูดถึงการแบ่งส่วนที่จะวาดหรือจะเว้นด้วยหลักง่ายๆ ก็คืออออออ

การแบ่งด้วยระยะของภาพ

อย่างที่เคยพูดถึง(รึเปล่าหว่า) ว่าในภาพทิวทัศน์ทั่วๆไปเราจะแบ่งระยะในภาพเป็นสามระยะคือ

1.Foreground ระยะหน้า
2.Middleground ระยะกลาง
3.Background ระยะหลัง หรือฉากหลังน่ะแหละ

นั่นล่ะฮะท่านผู้ช้มมม ทีนี้เราก็เลือกว่าภาพแบบนี้เราอยากเน้นตรงไหนเป็นพิเศษ สมมติเราจะเน้นตรงForeground เราก็วาดในส่วนForeground ตามปกติ แล้วของในระยะที่เหลือก็ปล่อยเบลอๆไป เท่านี้เราก็ประหยัดเวลาไปได้มากมายแล้วล่ะคุณณณ

สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น เรามาเริ่มกันเลยละกันน

 

มาดูกันก่อนว่า ส่วนไหนของภาพที่เค้าเรียกว่า Foreground, Middleground และ Background นะ

IMG_5261

ก็ตามภาพล่ะฮะ ระยะหน้าก็คือรถตุ๊กๆ ระยะกลางก็คือพวกรถเมล์กับต้นไม้ ส่วนระยะหลังก็คือวิหารด้านหลังนั่นเอง
สมมติว่าเราเลือกที่จะวาดแค่ระยะหน้า เราก็จะวาดรถตุ๊กๆด้วยรายละเอียดปกติ(รายละเอียดปกติก็คือวาดตามถนัดหรือเอาง่ายๆก็ละเอียดตามภาพล่ะฮะ5555) ส่วนรถเมล์,ต้นไม้ด้านหลังกับวิหารก็จะเขียนแค่ outline หรือรายละเอียดบางอย่าง ให้แค่พอรู้ว่าเป็นรถ ….แต่ว่าความยากของวิธีนี้มันอยู่ตรงนี้แหละฮะ

มีคำกล่าวจากคุณลุง Frank Ching คนดีคนเดิมว่า

Deciding what not to draw is as important as choosing what to include!!!

นั่นก็คือการเลือกว่าจะไม่วาดอะไรเนี่ย มันสำคัญพอๆกับสิ่งที่เราจะวาดเลยนะตัวเธอออ!!!
ประโยคนี้มันจริงมากๆ เพราะการวาดแบบปกตินั้นเราก็แค่วาดทุกอย่างตามที่เห็น แต่การเว้นขาวหรือเลือกที่จะไม่วาดอะไร มันต้องผ่านกระบวนการคิดแล้วว่าภาพนั้นจะออกมาเป็นยังไงถ้าไม่เขียนตรงนี้ หรือถ้าเขียนเฉพาะส่วนนี้ ภาพและพื้นภาพจะเป็นยังไงนะ?

ผมมักชื่นชมคนที่เว้นขาวเก่งๆ ด้วยความที่ส่วนตัวเป็นคนเยอะๆ เห็นอะไรก็เขียนหมด ขี้เกียจคิดว่าจะเว้นอะไรบ้างดี 55555
จนมาเจอกับศิลปินคนนึงที่ทำให้รู้สึกว่าการเว้นขาวเนี่ยอย่างเท่ เป็นสกิลที่โหดสัสรัสเซียไซบีเรียมากๆๆ นั่นคือคุณ Park Sunga

…แต่เดี๋ยวค่อยมาพูดถึง Park Sunga ตอนนี้เอาคอลัมน์นี้ให้จบก่อน 55555555555

 

มาๆๆๆ ถึงเวลาของภาพที่เราจะวาดกันซะที เตรียมดินสอปากกา สีน้ำและสมุดของคุณให้พร้อม แล้วตามมากับเราฮะ


 

Detail the Foreground : Church of St.Lucy, Valletta

ขอบคุณรูปต้นแบบจาก เว็บนี้ย์

86 St Lucy street Valletta 2

รูปนี้เราตั้งใจจะลงรายละเอียด หรือเน้นเฉพาะส่วนระยะหน้า จากภาพก็คือส่วนที่เป็นร้านค้า ร่ม ฝูงชนข้างหน้า ส่วนโบสถ์อยู่ในระยะหลัง

พอรู้งี้แล้วก็เริ่มร่างภาพด้วยดินสอก่อนเลยยย  (สำหรับการออกวาดภาพ on location แล้ว แนะนำให้ฝึกจนสามารถข้ามขั้นตอนร่างด้วยดินสอไปเลยจะดีมากฮะ)

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้วันนี้ก็มี ดินสอธรรมดา ปากกาตัดเส้น(เตรียมไว้หลายๆขนาดก็ดีฮะ หลักๆก็ใช้ 0.1, 0.3, 0.5 มม.) สีน้ำตลับนึง แล้วก็กระดาษของ Khadi (แนะนำให้ลอง 555555)

ในส่วนนี้เราก็จะร่างสำหรับกำหนดตำแหน่งและองค์ประกอบของภาพให้โอเค แล้วค่อยตัดเส้นด้วยปากกา

02a

การเขียนของที่วางขายอยู่ทางซ้ายหรือผลไม้ในลังทางขวาก็ใช้วิธีเดียวกับที่เคยบอกใน How to Sketch ตอนที่ 1 ฮะ

02b

ดูสิยังติดความเยอะอยู่นิดๆหน่อยๆ ตรงโบสถ์ข้างหลังนี่ก็ยังเยอะไปหน่อยนะเนี่ย T T
…เสร็จขั้นตอนตัดเส้นละ สำหรับคนไม่มีสีก็ข้ามไปภาพที่ 2 ได้เลยยยยยย

ส่วนใครจะลงสีด้วยก็ตามมาเลยฮะ

เซ็ตสีน้ำที่เราใช้คราวนี้ก็เป็นของ ShinHan (เผื่อใครจะใช้ตามนะ)

  • เหลือง / Indian Yellow
  • แดง / Brown Madder
  • ส้ม / Permanent Yellow Orange
  • ฟ้า / Cerulean Blue
  • เขียวแกมเหลืองๆหน่อย / Sap Green
  • เขียวเข้ม / Hooker’s Green
  • น้ำเงินเข้ม / Indigo
  • น้ำตาลเข้ม / Vandyke Brown
  • น้ำตาลออกแดงๆ / Burnt Sienna

03

ตรงร้านค้ามุมซ้ายนี่เวลาลงต้องไวนิดนึงง ให้สีมันblend เข้าด้วยกันบนกระดาษ (แต่ไม่ถึงกับผสมกันไปเลยนะ)
Tips นิดนึงคือ พยายามอย่าแตะสีน้ำเงินให้โดนสีส้ม หรือแตะสีส้มให้โดนสีน้ำเงินโดยตรง ให้แตะลงพื้นที่ว่างข้างๆแล้วค่อยๆใช้พู่กันเกลี่ยเข้าไป(ถ้าลงแบบเปียกสีมันก็จะไหลเข้าหากันเองเป็นธรรมชาติกว่า)

04

05a

05b

05c

ความเยอะเริ่มบังตา 5555

06

แอบหยอดสีเหลืองนวลๆตรงข้างล่างไปอีกนิด //ตีมือตัวเอง พอได้แล้ว!!!

เสร็จจจจ!!!! ถ้ายังไม่เสร็จเดี๋ยวจะเยอะไปกว่านี้ 55555555

 

มาดูการวาดแบบต่อไปกันดีกว่าา


 

Detail the Middleground : ปราสาทบันทายศรี

IMG_9484
อันนี้ไปเที่ยวเขมรมาสวยมากกกกกกกกก สวยน้ำตาไหล เลยนั่งวาดตรงนู้นไปรูปนึง เด็กๆเขมรมารุมเต็มเลยยย สนุกดี 5555

 

อ่ะ ร่างๆๆๆ

07

ที่เหลือนอกจาก Middleground ก็อาจจะเขียนแค่ Outline หรือองค์ประกอบสำคัญบางอย่าง เช่น เส้นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัน(อย่างเส้นโค้งของรวยระกาปราสาทหินข้างหน้า)

 

08a
เตรียมสกิลขยุกขยิกๆเส้นให้พร้อมม การวาดปราสาทหินไม่ได้ยากขนาดนั้นฮะะ

เอ้อ เวลาที่จะเขียนภาพแบบเน้นรายละเอียดแบบเนี๊ย จริงๆเราก็แนะนำให้เริ่มเขียนจากส่วนที่ต้องการให้ละเอียดที่สุดก่อน แล้วค่อยไปเขียนส่วนอื่นๆที่ความละเอียดน้อยลงมาไปจนถึงส่วนที่จะเว้นขาว จะได้ไม่เผลอลั่นเขียนเยอะในส่วนอื่นๆที่ไม่ต้องเน้น แต่บางครั้งเราก็ถนัดเริ่มเขียนจากทางซ้ายไล่ไปขวา หรือเขียนจากวัตถุที่มันบังส่วนอื่นๆก่อน เอ้า! สรุปก็ตามถนัดนี่หว่า 55555555555

08b
ค่อยๆเขียนไปเรื่อยๆ

09a

09b

09c

เวลาที่จะวาดวัตถุที่อยู่ไกลออกไป กาารใช้ปากกาที่หัวเล็กกว่าหรือเปลี่ยนไปใช้ดินสอ ก็จะเป็นการช่วยผลักระยะของวัตถุให้ดูไกลขึ้น มิติของภาพจะดูดีขึ้นครับ

ตัดเส้นเรียบร้อยยย  เป็นง่ะ ไม่ยากไปใช่มั้ย?
ต่อมาก็ลงสีจ้าา

 

10a

10b

10c

11

12a

12b

12c

13

14

15

เสร็จ
แล้วววววว

 

มาต่อกันที่การให้ detail ระยะต่อไปปป


 

Detail the Background : Prague

ขอบคุณรูปต้นแบบจาก เว็บนี้ย์

prague_tram

มาถึงระยะสุดท้าย นั่นก็คือ Background นั่นเองง ยังไหวใช่มั้ยคุณ มาต่อๆๆๆ

16

รูปนี้เปลี่ยนแนวมาใช้ปากกาหัว 0.1mm เส้นจะออกมาละเอียดหน่อย  แล้วก็ด้วยความที่วาดเป็นรูปที่ 3ละ เริ่มชินกับความน้อย 55555

 

17

18
ไล่ไปทางขวาเรื่อยๆผ่านโดม(ของถนัด ฮ่าๆๆๆ)

19

เขียนส่วนที่ละเอียดที่สุด หลังจากนั้นก็ค่อยๆผ่อนความละเอียดลง

20

เรียบร้อยย รูปนี้น้อยได้ใจ รับรองวาดแป๊บเดียวเสร็จ55555

มาๆๆ เริ่มลงสี
สำหรับรูปนี้ก็ลงสีแบบจางๆบางๆ เพราะด้วยเส้นที่ละเอียดๆมันทำงานของมันไปแล้ว

21

มีลูกเล่นเว้นขาวส่วนที่โดนแสงไว้บ้างก็ได้

 

22

23

24

เป็นอันเรียบร้อยยย
รูปนี้จะดูขั้นตอนน้อยๆง่ายๆต่างจากรูปอื่นเพราะรูปอื่นๆมันไปหนักตรงลงสีเนี่ยแหละ 5555 (ตกลงนี่ how to sketch จริงป่าวเห้ยย)

แล้วก็ผ่านไปสำหรับการเลือกวาดอะไรในแต่ละระยะ ทั้ง Foreground, Middleground และ Background ก็หวังว่าคุณผู้อ่านจะเอาไปปรับใช้กับการวาดรูปของคุณๆๆๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนะฮะ ถ้ามีคำถาม สงสัยยังไงก็ถามกลับมาได้เลยเน้อ

 

 

ห๊ะ! อะไรนะ?

อ๋อ เอ้ออ
มันจะมีภาพอีกแบบนึง ที่ไม่สามารถแบ่งระยะของภาพออกเป็นสามระยะอย่างที่พูดถึงไปได้

ภาพแบบนั้นก็คืออออออ

1384000628_2

คืออ ภาพสถาปัตยกรรมใหญ่ๆ อย่าง โบสถ์ อนุเสาวรีย์ แลนด์มาร์คต่างๆ  มันก็มีวิธีการวาดแบบน้อยๆ ลดทอนรายละเอียดเหมือนกัน
…ด้วยความที่เราชอบวาดภาพสถาปัตยกรรมตะวันตก พวกโดม โบสถ์ หอคอยยอดแหลมๆ ไรพวกเนี๊ยเลยเอามาฝากกันเผื่อมีคนอยากทำบ้าง


 

 

Duomo di Milano

ขอบคุณรูปต้นแบบจาก เว็บนี้ย์

duom_cover1

อย่าเพิ่งโดนความเยอะของดีเทลสถาปัตยกรรมหลอกลวงคุณ หรือทำให้ท้อจนไม่อยากวาด

ครับ มันก็เยอะจริงๆน่ะแหละ 55555555555 แต่มันก็น่าวาดจะตาย  ป่ะ?

 

อ้าว ไม่เหรอ
555555555555

แต่ไม่เป็นไร ถึงพวกนายไม่อยากวาด เราก็จะวาดให้ดูอยู่ดี 555555
มาๆๆๆ

25

ใช้ดินสอร่างเพื่อกะตำแหน่งของเสา ยอดแหลมๆ ประตู หน้าต่างให้ใกล้เคียง

 

26

ภาพแนวนี้ เราจะไม่ได้เน้นรายละเอียดที่จะเขียนตามระยะตื้น-ลึกของภาพ แต่จะแบ่งส่วนที่จะเน้นรายละเอียดไปตามแนวซ้าย-ขวาของภาพ ทีนี้ผมก็เลือกที่จะเน้นส่วนกลางของวิหาร(ส่วนค่อนไปทางขวาของภาพ)ซึ่งเป็นส่วนที่มีดีเทล(หน้าต่าง, ลวดลาย) ที่น่าสนใจ

27

28

สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือสกิลการขยุกขยิกเส้นให้เป็นรูปทรงอย่างยอดแหลมๆของวิหารเนี่ย ให้นึกถึงการเขียนสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม รวมๆกันให้มันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมานะฮะ

ส่วนที่ยากหน่อยก็ตรงต้องคิดเรื่องจังหวะการเว้นขาว (บริเวณหน้าต่างทางขวา) เนี่ยแหละ ต้องใช้สกิลการจัดองค์ประกอบภาพมาช่วยฮะ

 

29

จริงๆแค่เส้นอย่างเดียวก็พอแล้วแหละ แต่อยากลงสีต่ออ่ะ บอกแล้วเป็นคนเยอะๆ 5555

 

30

31

32

33

งายยย เห็นมะ ตัดเส้นก็ง่าย ลงสีก็ง่ายๆ แบบนี้ไม่ทำตามไม่ได้ละ 5555


 

เป็นไงกันมั่ง พอจะทำกันไหวใช่มั้ยฮะ แต่ถึงไม่ไหวก็  …ก็กลับไปอ่านตอนนี้+ตอนเก่าๆอีกรอบสองรอบนะ 555555

สำหรับเทคนิคการแบ่งส่วนที่จะวาดด้วยระยะภาพ เป็นเทคนิคง่ายๆที่จะช่วยลดเวลาในการวาด-ลงสี และช่วยฝึกเซนส์ในการจัดองค์ประกอบเราด้วยฮะ
ตอนหน้าก็จะยังเป็นเรื่อง Deciding What to Draw ตอนที่2 แต่จะเป็นการเลือกที่จะวาดอะไรแล้วจะเว้นตรงไหน ก็อย่าลืมติดตามกันต่อไปนะตัวเธอ

 

final

 

สุดท้าย

อยากให้ทำ How to Sketch เกี่ยวกับอะไรก็คอมเม้นมาบอกกันได้นะจ๊ะ
หรือถ้าคุณผู้อ่านมีคำถามในขั้นตอนไหน ก็ถามมาได้เช่นกันนะ
ถามๆๆๆๆๆ เข้ามาได้เลยคุณ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณๆ จะได้ประโยชน์จาก How To ที่เราเขียนมาอย่างยืดยาวว

ขอบคุณที่อ่านกันมาถึงตรงนี้ครับ 

หากอ่านแล้วถูกใจชอบใจ ฝากกดแชร์ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ \( - 3-)/
โพสตอนนี้อยู่ในหมวด How to Sketch และมี tag ดังนี้ , , , , , , , , , , โพสเมื่อวันที่ .
Louis

สถาปนิกตัวเล็กๆคนนึง เชื่อว่าทุกคนสามารถวาดรูปให้ดีได้ เพียงแค่ชอบมันเท่านั้นเอง

เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/lllouissketcher