How to Sketch #5 : วันวาดวัด

in How to Sketch by Louis on 09 Sep 2016

เห่นนนน
.
.
.

โล้ววววววววววววววววววววววววววว

หายไปนานนนนนนมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กับคอลันม์ How to Sketch
นานจนจำรหัสล็อคอินมาโพสไม่ได้ 55555555555555555555

วันนี้ เนื่องจากไหนๆเราก็นานๆโผล่มาที
How to ที่เราจะทำกันในตอนนี้นั้นย์ จะจัดให้สาสมใจเลยล่ะค่ะคุณขา
เอ้า ให้เวลาสามนาที ไปเข้าห้องน้ำห้องท่า เตรียมกระดาษ ปากกา สีน้ำ
แล้วเราจะเริ่มเรียนการวาด ของที่น่าจะยังไม่เคยมีใครสอนคุณๆสเก็ตช์กันมาก่อน(มั้ง)

ครับ เรื่องใหญ่ เรื่องโต เรื่องที่คุณหลีกเลี่ยงมันมาตลอด

สิ่งนั้นก็คือออ

pic01

นั่นเองงงงงงงงงงง

//รัวมือออ

ก็ อย่างที่เรารู้ๆกันฮะว่าพุทธศาสนาได้หยั่งรากฝักลึกอยู่ในดินแดนแถบนี้และประเทศของเรามาเป็นระยะเวลานานนน ไม่แปลกที่ไม่ว่าเราจะไปในย่านไหนจังหวัดใด ก็จะมีวัดตั้งสง่าเป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธในละแวกนั้น ในขณะเดียวกัน หลายๆวัดก็ทำหน้าที่เป็นแลนด์มาร์กให้กับพื้นที่ ทั้งในแง่ขนาด(เช่น วัดสุทัศน์ฯที่เห็นข้างบน) ความประณีตของศิลปกรรมเชิงช่าง(เช่น วัดไหล่หินหลวง จ.ลำปาง) หรือในแง่ความศรัทธา ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติให้เข้ามาสักการะเยี่ยมชมกันมากมาย

เราในฐานะสเก็ตเช่อร์เชื้อสายไทย ก็น่าจะได้ลองวาดวัดวาดโบสถ์ดูซักครั้งให้เป็นขวัญมือ 5555

เอาเป็นว่า ถ้าไม่ชอบ ไม่เป็นไร แต่ขอให้ได้ลองฟัดกับมันดูซักตั้งนะ <3

 

อนึ่ง หัวข้อในวันนี้จะยังไม่ใช่วัดทั้งวัดนะครับ จะยกมาเพียงส่วนนึงนั่นคือโบสถ์(a.k.a. อุโบสถ-พระอุโบสถ) และวิหาร ที่มีรูปแบบคล้ายๆกันเท่านั้น แค่นี้ก็เขียนกันไม่หวาดไม่ไหวแล้ว 55555 ไว้โอกาสหน้าอาจจะนำส่วนอื่นๆมาสอนต่อ

pic02

เชื่อว่าที่หลายๆคนมีปัญหากัน ไม่ใช่ส่วนตัวอาคารของวิหาร-โบสถ์(ผนัง, เสา, ซุ้มหน้าต่าง, ซุ้มประตู)เท่าไหร่ เพราะรูปแบบของส่วนนั้นก็ไม่ได้ซับซ้อนและแปลกแตกต่างกันมาก

แต่ที่เป็นเดอะพีคออฟปัญหาทั้งมวลนั่นก็คือส่วนหลังคาฮะ เป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของรายละเอียด-องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมไทย อย่างมากกกกกกกกก ทั้งเส้นโค้งคดเคี้ยวหยิกๆหยักๆของช่อฟ้า-ใบระกา-หางหงส์ และตัวรวยระกาที่ไม่รู้จะเริ่มเขียนจากไหนไปไหนดี แค่เขียนตรงๆก็ยากแล้ว นี่พอเป็นมุมเงยยิ่ง.งงเข้าไปใหญ่ 55555

แต่ก่อนที่เราจะมาเริ่มวาด ลองมาทำความรู้จักชื่อของพวกเค้ากันซักนิดครับ เพราะในส่วนของแบบฝึกหัดเวลามีการพูดถึงส่วนนั้นๆจะได้ไม่งงเนอะ

img127

จากรูปข้างบนนี่คือ องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมไทยเครื่องลำยอง รวยระกาแบบมีนาคสะดุ้ง—นาคสะดุ้ง คือไอเส้นโค้งดุ๊กดิ๊กที่พาดตรงแป (ไอเนี่ยแหละที่เขียนยาก 55555)
ซึ่งมันก็มีอีกแบบคือเป็นรวยระกาแบบเรียบ ไม่มีนาคสะดุ้ง อย่างเช่นที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร(รูปล่าง) ถ้าเป็นแบบนี้ ก็จะเขียนง่ายหน่อยฮะ

pic04

 

 

เอาาาล่ะะ เมื่อเราได้รู้จักองค์ประกอบส่วนหลังคาของโบสถ์วิหารไปแล้ว
ทีนี้ก็มาลองเขียนมันกันเนอะ

//ผู้อ่าน :  ม่ายยยยยยยยยยยย

 

เริ่ม!!!

แรกเริ่มเลย เราก็จะเริ่มจากวิธีการพื้นฐานที่ใช้กับการสเก็ตช์ภาพอาคารบ้านเรือนทั่วๆไปน่ะแหละ
นั่นก็คือการร่างรูปทรงรวมๆของทั้งภาพ เพื่อกำหนดองค์ประกอบภาพ ตำแหน่งของสิ่งต่างๆที่เราเห็น(จะเพิ่มเติม หรือจะตัดอะไรบ้าง) วางสัดส่วนอาคาร-ท้องฟ้า-พื้นดินให้แม่นยำ
เป็นการกำหนดกรอบ-ขอบเขตของสิ่งที่จะวาด เพื่อไม่ให้เกิดอาการที่วาดไปเพลินๆแล้ว เพิ่งมาพบว่า เห้ย! อาคารยาวไปอ่ะ สูงไปอ่ะ ใส่หลังคาไม่พอ (หลายคนคงเป็นบ่อยๆ )

ในหนังสือฝรั่งมีคำกล่าวว่า ไม่มีเส้น-การสานเส้นหรือการใส่ดีเทลอะไรที่จะช่วยให้ composition ของภาพดีขึ้นได้ฮะ เพราะฉะนั้น เราควรทำให้มันดีตั้งแต่แรกเริ่ม ไม่ถูกใจก็วาดใหม่ วาดจนกว่าจะพอใจ นั่นแล

 

***ขั้นตอนนี้เป็นการฝึกความแม่นยำของตากับมือได้ดีมากครับ แรกๆอาจจะเขียนไม่ถูกใจ/ไม่ตรงกับที่เห็นซะที แต่ยิ่งทำบ่อยๆก็จะแม่นยำขึ้นเองฮะ

 

ตัวอย่างภาพ : พระวิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม, กทม. ให้ลองสเก็ตช์ภาพโดยใช้เส้นร่างรูปทรงรวมๆ ยังไม่ต้องใส่ดีเทล

pic05pic08

 

พูดถึงเรื่องการวาดด้วยรูปร่างง่ายๆ
ใน How to Sketch #2 One Point Perspective เราเคยทำขั้นตอนการเขียนอาคารสถาปัตยกรรมไทยด้วยรูปร่างง่ายๆไว้นิดนึง เอากลับมาให้ดูอีกรอบละกัน

13b14c

จะเห็นว่าที่เขียนไปนั้นเราก็ใช้แค่รูปทรงเราขาคณิตง่ายๆอย่างสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมมารวมๆ กันเท่านั้นเอง จะมีที่แปลกๆหน่อยก็แค่เส้นโค้งของเครื่องยอดมณฑปนิดๆ หน่อยๆ จากนั้นพอเขียนรูปทรงรวมๆครบก็เขียนให้เป็นเส้นคู่ในบางจุดอย่างสันหลังคา รวยระกา ฯลฯ เท่านี้ก็เสร็จแล้ว

 

pic09

ต่อๆ พอได้ภาพรวมๆมาแล้ว

ทีนี้ เราจะมาเจาะลึกกันเฉพาะส่วน”เครื่องลำยอง” หรือพูดง่ายๆก็คือส่วนหลังคาวิหารเนี่ยแหละ ถ้าเขียนส่วนนี้ได้แล้ว ส่วนอื่นๆก็ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน 
โดยที่จะเขียนต่อไปนี้ จะเป็นมุมเฉียง(สำหรับรูปด้านหน้าตรง ลองเขียนตามจากรูปที่แสดงองค์ประกอบได้เน้อ) เป็น Typical ของโบสถ์-วิหารทั่วๆไป เวลาที่ออกไปวาดในสถานที่จริง ก็ลองเอาไปปรับมุม องศาความเอียงหลังคาได้ตามสมควรจ้า

img080b

ก่อนอื่นเริ่มจากรูปร่างง่ายๆอย่างสามเหลี่ยม
ความเอียงของเส้นขื่อและจันทัน ก็ตามที่เห็นจากของจริงเลย

 

img081b

เพิ่มความลึก ด้วยการเขียนต่อเส้นขึ้นไปเป็นส่วนฝ้าของหลังคา ส่วนนี้เรียกว่าฝ้าไขรา
โบสถ์-วิหารแต่ละที่ก็มีฝ้าลึกตื้นต่างกัน ส่วนนี้มีผลกับแสงเงาที่พาดลงตรงนี้ด้วย

 

img082

พอได้รูปทรงคร่าวๆ ทีนี้มาแบ่งส่วนเพื่อวางตำแหน่งแป

เริ่มจากแบ่งครึ่งๆ (ที่ร่างเส้นประเพื่อกำหนดตำแหน่งของแปอีกฝั่ง)

 

img083

พอแบ่งครึ่งนึงแล้วก็เขียนตัวแป (ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมทรงกระบอกยาวไปชนสามเหลี่ยมข้างใน)
จากนั้นแบ่งตำแหน่งแปย่อยไปอีกครึ่งนึง แล้วเขียนแปเข้าไปเหมือนเดิม

 

img084b

ทีนี้มาถึงส่วนที่ค่อนข้างยากละ 5555  คือตัวนาคสะดุ้ง และงวงไอยรา
เขียนเส้นโค้งขึ้น (เขียนเส้นล่างก่อนนะ) โดยเริ่มเขียนจากแปตัวล่าง แล้วมาหยุดที่แปตัวบน (ดูในรูปว่าเส้นเริ่ม-หยุดที่ตรงไหน)
จากนั้นก็เขียนเส้นโค้งอันบนในลักษณะเดียวกัน

อันนี้เป็นความรู้สึกส่วนตัวนะ เวลาที่เราเขียนเส้นนี้เราจะนึกถึงเส้นเชือกที่พาดระหว่างแปสองตัว
มันจะมีน้ำหนักตามแรงโน้มถ่วงที่ทำให้เชือกมันหย่อนลงนิดนึง นั่นล่ะฮะ

แล้วก็เขียนแบบเดียวกันกับแปอีกฝั่ง

 

img086b

พอเขียนนาคสะดุ้งแล้ว ก็มาเขียนงวงไอยรา งวงไอยราจะเลื้อยเป็นเหมือนตะขอขึ้นมาเกี่ยวกับตัวแปวง

ตอนเขียนนี่ให้นึกถึงงวงช้างอ่ะ ประมาณว่า…ช้างเอางวงมาพันกิ่งไม้ แล้วตวัดเส้นขึ้นตามรูป

 

img087b

ทีนี้เราก็ได้เส้น outline ของส่วนรวยระกาแล้ว จากนั้นก็ offset เส้นขึ้นไปขนานกัน มันจะยากนิดนึงตรงส่วนงวงไอยรานะ
ต้องสังเกตดีๆ ว่างวงที่ไปเกี่ยวกับแปอ่ะ เส้นมันก็มีที่มาจากตัวนาคสะดุ้งนี่แหละ (ดูในรูปดำ)

เสร็จแล้วก็ใส่รายละเอียดของเส้นเข้าไป คือ เพิ่มความหนา เติมเส้นให้เหมาะสมกับสเกล โดยขึ้นอยู่กับว่าเราเขียนใหญ่แค่ไหน ถ้าเขียนไม่ใหญ่มาก ก็เอาประมาณรูปทางซ้าย แต่ถ้าเขียนใหญ่ ก็ให้ดูการแบ่งเส้นของรูปดำล่าง

 

img088

เสร็จแล้วร่างสามเหลี่ยมมุมฉากตรงส่วนปลายของรวยระกา(บิดตามองศาที่เห็น) โดยหางหงส์นี่จะนั่งอย่บนเชิงกลอน (ส่วนที่เหมือนตัว L คว่ำ)

การร่างนี่ก็เป็นการกำหนดความสูงของตัวหางหงส์ ไม่ให้เราเขียนเกินเลยจากกรอบนี้ไปมาก ส่วนใหญ่ถ้าไม่คุ้นกับมันแล้วไม่ร่างก่อน มือเราจะเขียนหางหงส์ยืดยาวขึ้นไปเกินเรื่อง

 

img089b

บรรจุตัวหางหงส์ลงไปในกรอบที่ร่าง  จากนั้นก็เขียนแนวเส้นใบระกา ให้ขนานกับเส้นร่างสามเหลี่ยมและมีความหนาพอๆกันกับความหนาของรวยระกา ยาวขึ้นไปจรดกันบนยอดสามเหลี่ยม

 

img090

ถ้าเราเขียนสเกลใหญ่ อาจจะต้องเพิ่มรายละเอียดในส่วนใบระกาเข้าไปเป็นใบๆตามภาพเส้นดินสอ แต่ถ้าไม่ได้เขียนใหญ่มากก็ตามภาพเส้นปากกาเลย คือจิกๆที่เส้นให้มีระยะห่างพอๆกัน

ใส่ช่อฟ่าที่ยอดของสามเหลี่ยม ช่อฟ้าในที่นี้ก็มีหลายแบบ ทั้งแบบปากนก ปากปลา เราอาจจะเขียนเป็นรูปร่างง่ายๆเหมือนรูปข้าวหลามตัดสองอันแบบเส้นดินสออันซ้ายก็ได้
พยายามรักษาฟอร์มของตัวช่อฟ้าอย่าให้สูงชะลูดเสียดฟ้าเกินความจริงมากไป

 

img091

เติมความหนาของกรอบแว่น ใส่รายละเอียดให้หน้าบัน แนะนำว่าในส่วนหน้าบันไม่ต้องใส่เส้นลงไปเยอะ เดี๋ยวเราใช้สีช่วยเอา

พวกกระจังบนและล่างขื่อ ก็เขียนเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆเรียงๆกันไป (ดูตามหน้างาน ถ้าที่เราเขียนไม่มีก็ไม่ต้องใส่ก็ได้)

 

img092

ใส่เสาและรายละเอียดตกแต่งอย่างบัวหัวเสา ตรงส่วนนี้ไม่ได้ยากมากมีแค่เส้นตรงและรูปทรงเหลี่ยมๆ

เพิ่มรวงผึ้ง (สามเหลี่ยมสามอันที่อยู่ใต้ขื่ออ่ะ) เขียนง่ายๆเป็นสามเหลี่ยมสามอัน ตรงกลางมีขนาดใหญ่สุด
ในส่วนนี้แต่ละวัด หรือโบสถ์ วิหารแต่ละแห่งก็จะมีการประดับตกแต่งที่แตกต่างกันออกไปครับ อาจเป็นซู้มคูหา, สาหร่ายและรวงผึ้ง ฯลฯ

 

img093

เริ่มเขียนหลังคาปีกนก คือหลังคาเล็กๆ ที่ต่อมาจากหลังคาจั่วตรงกลาง
ถ้าว่ากันด้วยเรื่องสัดส่วน องศาของหลังคาปีกนกนี่ จะมีองศาน้อยกว่าของหลังคาจั่วตรงกลางนิดนึง

ฉะนั้นเวลาที่เขียนเส้นเฉียงของหลังคาปีกนก ก็จะเขียนดัดออกจากองศาเดิมอีกนิดนึง ไม่ได้เป็นเส้นที่เอียงเท่ากันซะทีเดียว
จากนั้นก็วางตำแหน่งแป (เหมือนขั้นตอนแรกๆเลย)

 

img094

ใส่ขื่อ, ความลึกของฝ้าไขรา, ใส่ตำแหน่งเชิงกลอน เขียนแปลึกเข้าไปในฝ้าไขราเหมือนเดิม

 

img095

แล้วก็เขียนตัวรวยระกาของหลังคาปีกนก ก็ใช้วิธีเดียวกับ ที่เขียนตรงหลังคาจั่วน่ะแหละฮะ แต่ตัดเส้นนาคสะดุ้งออกไป

ถึงตรงนี้เราเริ่มร่างเสาอีกสองต้นข้างๆ

 

img096

offset เส้นความหนาของรวยระกาให้ขนานกัน วางตำแหน่งและร่างรูปร่างคร่าวๆของหางหงส์ ใครลืมไปแล้วเลื่อนขึ้นไปดูข้างบนได้

เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วว

 

img097

เขียนตัวหางหงส์ ใส่เส้นใบระกา และดีเทลเล็กๆน้อยๆอย่างกระจัง เท่านี้ก็การตกแต่งด้านหน้าของโบสถ์เรียบร้อยยยยย

ต่อไปก็เป็นส่วนตัวอาคารทั่วๆไป ซึ่งมีความซับซ้อนและรายละเอียดไม่มากมาย เราจะข้ามไปเร็วๆเลยนะฮะ

 

img098

ทาดาาาา

จากที่เห็น เส้นเอียงลงของแนวหลังคาและเชิงกลอน ก็ให้เขียนตามมุมมองที่เราเห็น
เราเขียนคันทวย, ซุ้มประตู เพิ่มในด้านหน้า ใส่แนวเสา-เชิงกลอนลึกเข้าไปตาม perspective

ที่อยากให้สังเกตคือการเขียนด้านหลังของช่อฟ้า ต้องระวังไม่ให้มันสูงกว่าช่อฟ้าตัวหน้านะ (ของที่อยู่ไกลออกไปต้องเล็กกว่าของด้านหน้า)

.

.

จบพาร์ทการเขียนเส้นละ มาต่อด้วยการลงสีกันเลยยย

 

IMG_2075

เตรียมพู่กัน น้ำ ทิชชู่ เตรียมสี(ในที่นี้เราใช้สีของ ShinHan Art)ให้พร้อม

สำหรับใครที่ยังงงๆกับการลงสี ลองกลับไปดูพื้นฐานได้ที่  How to Draw #2 : เรียนรู้การใช้สีน้ำและเทคนิคสีน้ำขั้นต้น

 

IMG_2077

เริ่มด้วยการลงสีส่วนที่เป็นสีทองก่อนเลย เช่น รวยระกา ขื่อ หน้าบัน หัวเสา คันทวย

ค่อยๆใช้พู่กันแตะสีเหลือง เราใช้ Indian Yellow มันจะค่อนข้างเข้มกว่าเหลืองอื่นๆ(อันนี้ความชอบส่วนตัว) ลงไปในส่วนรวยระกา หางหงส์ ช่อฟ้า

Tip นิดนึง ถ้าเขียนในสเกลใหญ่ ให้ลองลงสีด้วยวิธีการไล่ระดับ (graded wash) มันจะไม่เรียบแบบ flat wash จะช่วยให้สีตรงส่วนนี้ดูมี dynamic มากขึ้น

 

IMG_2078

ระหว่างที่สีเหลืองเกือบจะแห้ง (ยังมีน้ำอยู่นิดหน่อย **ย้ำว่านิดหน่อย)

ก็ใช้พู่กันเล็ก แตะสีส้มเป็นจุดๆตามส่วนที่เป็น shade เพื่อไม่ให้สีในส่วนนี้ดูแบน

 

IMG_2082

ทำแบบเดิมกับรวยระกาของหลังคาปีกนก

 

IMG_2085

ต่อด้วยส่วนต่างๆที่ประดับด้วยการปิดทอง เช่น ขื่อ หัวเสา รวงผึ้ง คันทวย (อันนี้เวลาออกไปวาดในที่จริงต้องสังเกตจากหน้างาน)

ลงด้วยขั้นตอนเดิมคือ ลงสีเหลือง(ทอง) ไปก่อน แล้วแตะสีส้มลงไปบางส่วน

 

IMG_2091

มาลงส่วนหน้าบันกันต่อ

เราอยากให้เกิดการ blend กันของสีต่างๆที่เกิดจากการประดับตกแต่งบนหน้าบัน (ซึ่งปกติก็จะใช้การปิดทอง ประดับกระจกสี) โดย สีที่เราพบเห็นได้ทั่วไปก็จะเป็น สีเหลือง(ปิดทอง), สีน้ำเงินหรือเขียวของกระจกสี, สีเงินของกระจก(ใช้การเว้นขาว), สีแดง(สีของฝ้าไขราที่สะท้อนมาหรือมาจากการทาสี)

เพื่อให้มันเกิดการไหลเข้าหากันของสีแบบนุ่มๆ ฉาบน้ำไปก่อน

**ถ้าเขียนในสเกลเล็ก ก็แตะสีลงไปได้เลย แต่ระวังอย่าให้น้ำในพู่กันเยอะมากเกินไป

 

IMG_2096

รอให้น้ำหมาดๆ แล้วใช้พู้กันแตะสีเหลืองลงไปเป็นจุดๆ

ถ้าในพู่กันมีสีข้น พอแตะลงกระดาษ(ที่มีน้ำหมาดๆ)สีจะไหลไปช้าๆ
ถ้าในพู่กันมีเนื้อสีน้อย น้ำเยอะ พอแตะลงกระดาษ(ที่มีน้ำหมาดๆ)สีจะไหลกระจายตัวไปค่อนข้างเร็ว

 

IMG_2100

พอแตะสีเหลืองไปบางส่วน (อย่าลืมเว้นให้มีส่วนขาวๆบ้าง) ก็แตะสีน้ำเงินไปเป็นจุดๆ ลงในพื้นที่ๆว่างอยู่

**ไม่ควรแตะโดนตรงส่วนที่มีสีเหลืองอยู่แล้ว

 

IMG_2101

จากนั้นต่อด้วยการแตะสีแดงด้วยวิธีการเดิม

 

IMG_2102

ลงส่วนอื่นๆ ที่เป็นสีทอง เช่น ตรงหน้าอุดของหลังคาปีกนก

 

IMG_2103

รอจนแห้ง แล้วลงสีฝ้าไขราด้วยสีแดงเข้ม (แดงผสมน้ำตาลเข้มหน่อย) จะลงแบบ flat wash หรือ graded wash ก็ได้

 

IMG_2104

ไล่ลงมาเรื่อยๆๆ

 

IMG_2105

ระหว่างรอส่วนฝ้าไขราแห้ง เพื่อ glazing ลายไม้ หรือน้ำหนักเงาอีกชั้น ก็เขยิบไปลงสีเชิงกลอน หรือด้านหลังหางหงส์ ด้วยสีแดงสดๆหน่อย และลงสีหัวเสาอื่นๆด้วย

 

IMG_2107

พอฝ้าไขราแห้งแล้ว ก็ลงน้ำหนักอีกชั้น คราวนี้เราลงให้เห็นเป็นร่องไม้ที่เรียงชิดกัน ให้ยังเห็นน้ำหนักของสี layer ที่แล้ว

 

IMG_2109

ส่วนต่างๆเริ่มมีสีแล้ว คราวนี้มาลงเงาบนตัวอาคารกันน

อาคารพวกโบสถ์-วิหารทั่วไปเนี่ย ก็มักจะมีสีขาวเป็นส่วนใหญ่ เราจะไม่ไปยุ่งอะไรกับสีขาวครับ เพราะสีน้ำเราไม่สามารถระบายสีขาวได้ ต้องใช้การเว้นเอา

แต่คอนเซปของเราคือการลงสีเพื่อบรรยายให้เห็นมิติความลึกตื้นของวัตถุ และของภาพ
ซึ่งมันจะขาดการลงแสงเงาไม่ได้เลย

ทีนี้ สีของเงาที่ใช้ ก็สามารถเลือกได้หลากหลาย แล้วแต่แสงในขณะนั้นครับ ถ้าเป็นตอนประมาณสี่โมงเย็น แดดอุ่นๆตอนเย็นๆจะมีแสงสีส้มเยอะ เราอาจจะเจือสีส้มนิดๆลงไปในสีที่ลงเงาก็ได้

สำหรับของภาพนี้ เราใช้สีเงาทั่วๆไปที่ใช้ลงได้ในหลายสถานการณ์ คือใช้ Cobalt Blue + Brown Madder จนได้สีออกม่วงน้ำเงิน

**ระวังอย่าใช้สีโทนน้ำเงิน ไปฉาบลงพื้นที่ของสีเหลือง สีน้ำมีคุณสมบัติโปร่งแสง มันจะซ้อนกันจนได้สีออกเขียวๆ ซึ่งเป็นสีที่แปลกประหลาดสำหรับส่วนที่ปิดทองครับ

 

IMG_2110

พอลงเงาด้านหน้าเสร็จ ก็ต่อด้วยด้านข้างอาคาร โดยเราให้น้ำหนักของด้านข้างเข้มกว่าด้านหน้า
ในพื้นที่ที่ลงเงา เราก็มีการแตะสีน้ำตาลแดงเพิ่มตรงส่วนบนๆให้มีระดับของสีไม่เท่ากัน

***ตอนลงเงาต้องค่อยๆลง ให้มีการเว้นขาวที่พอเหมาะ อย่างเสาเนี่ยเราก็ลงเงาแค่ด้านข้างของมันพอ

 

IMG_2113

มาถึงอีกส่วนที่จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก นั่นก็คือส่วนผืนหลังคาาา!!

ที่เราจะเห็นอยู่ในทุกวันนี้ก็จะมีอยู่หลักๆ 2แบบ คือแบบสีเดียวเรียบๆ อย่างกระเบื้องดินเผาเคลือบสีส้มทั้งผืนอย่างเช่น วัดเบญฯ หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และอีกแบบคือแบบสลับสี เขียว-ส้ม, ส้ม-แดง-น้ำเงิน

ซึ่งแน่นอนว่า แบบที่เราจะทำกันวันนี้นั้นจะไม่ใช่แบบเรียบๆ 55555555555555

ครับ, เราจะมาลงสีกระเบื้องสลับสีเขียว-ส้มกัน หลายๆคนน่าจะคุ้นเคย เริ่มจากร่างพื้นที่ของสีต่างๆคร่าวๆด้วยดินสอบางๆ
สำหรับใครที่เชี่ยวชาญแล้วก็ข้าวขั้นร่างเส้นไปได้เลยย

 

IMG_2114

ปกติเราจะเริ่มจากการลงพื้นที่ด้านในก่อน ที่เราอยากได้คือ ขอบของสีทั้งสองไม่ได้ตัดกันโดยสิ้นเชิง แต่มีความไหลเข้าหากันนิดนึง

วิธีการลงเลยไม่ได้ฉาบน้ำที่กระดาษก่อน แต่แตะสีให้มีน้ำอยู่ในพู่กันพอประมาณ (ขั้นตอนต่อไปนี้ต้องใช้ความเร็วและสมาธินิดนึง) จากนั้นค่อยๆลงสีไปในกรอบที่ร่างไว้

 

IMG_2115

ค่อยๆ ไล่มาจนเต็มกรอบ ควรรีบลงให้เสร็จก่อนที่สีด้านบนๆจะแห้ง

 

IMG_2116

จากนั้นรีบแตะสีเขียว ลงในส่วนที่เหลือ ใช้ปลายพู่กันค่อยๆแต่งเติมไป ระวังอย่าให้พู่กันเจอส่วนสีส้มโดยตรง ไม่งั้นมันจะ blend กันมั่วซั่ว

IMG_2117

ซูมมมเข้าไป ส่วนตัวเราชอบการฟู่ๆตรงส่วนที่สีเขียวมาเจอสีส้ม มันเกิดจากสีส้มที่ยังมีน้ำอยู่นิดหน่อย มาเจอกับสีเขียวในปริมาณน้อย

 

IMG_2118

เรียบร้อยย ครบทั้งสามด้านละ

 

IMG_2119

ถัดลงมาทำในส่วนหลังคาปีกนกด้วยวิธีการเดิมเลยย

 

IMG_2120

ก่อนส้มแห้ง ลงสีเขียวลงไปป

ใกล้เสร็จแล้วๆๆๆๆ

 

IMG_2121

แต่ง texture ให้ผืนหลังคานิดนึง pattern ของหลังคาก็เป็นตามกระเบื้องที่ใช้ สำหรับอันนี้เป็นกระเบื้องดินเผาหางมนทั่วๆไปก็ใช้พู่กันเล็กๆ แตะเป็นสระอิ บนผืนหลังคา

 

pic11

นิดนึงที่ควรระวัง เวลาลงสีส่วนหลังคา ถ้าไม่ได้ร่างและตัดเส้นเต็มแบบเรา ต้องอย่าลืมว่ามันจะมีชั้นของ “หลบปูน” คือส่วนปูนทับกระเบื้องเพื่อปิดความเรียบร้อยและกันน้ำเข้าอาคาร ตำแหน่งของมันจะอยู่ใต้เชิงกลอน และสันหลังคา เวลาที่สเก็ตช์หยาบๆ แล้วลงสี บางทีจะลืมเว้นส่วนนี้ไป ทำให้เสียส่วนที่เป็นสีขาวไปด้วย (แต่บางวัดที่เก่าๆ หลบปูนก็ไม่ขาวแล้ว :D) ซึ่งสีขาวก็เป็นส่วนที่สำคัญมากส่วนนึง ในการลงสีโบสถ์-วิหารนะ

 

IMG_2122

ขั้นตอนสุดท้าย

คือการลง shade & shadow และเก็บรายละเอียด, แสงเงาตามใจชอบ บางส่วนที่ลงไปแล้วมันจางลง(ตามคุณสมบัติกระดาษ)ก็ลงซ้ำอีกรอบได้

 

pic10

ชิ้งงง พลังแห่งการสแกน 5555555

เราว่าความยากของโบสถ์-วิหาร ส่วนมากจะไปอยู่ในขั้นตอนการวาด เพราะมันมีเส้น-รูปทรงที่ไม่คุ้นเคยอยู่เยอะ แต่พอมาในขั้นลงสีแล้วก็ไม่มีอะไรยากแล้วฮะ เพราะก็ใช้เทคนิคการลงสีทั่วๆไปน่ะแหละ

และที่ผ่านไปก็เป็นการเขียนสถาปัตยกรรมไทยเครื่องลำยอง โบสถ์-วิหารเล็กๆที่ไม่มีการซ้อนชั้นหลังคา อย่างในรูปวัดสุทัศน์ฯรูปแรก 5555 ซึ่งมันก็ไม่ได้ยากไปจากรูปนี้มากนะคุณ แค่เพิ่มรวยระกาไปไม่กี่ตัวเอง ฮ่าๆๆ

ขั้นตอนการสเก็ตช์สำหรับภาพที่เพิ่งผ่านไปนี้ มันค่อนข้างเต็มรูปแบบ คือเขียนเส้นเขียนรายละเอียดเกือบครบ ซึ่งเหมาะสำหรับการฝึกเขียน ฝึกสังเกตทิศทาง-รูปแบบของเส้น, รูปทรง, การลงสี, และแสง-เงาครับ

.

.

สุดท้าย…

เราจะพามาดูเหล่าอาคารรูปแบบนี้ ในรูปสเก็ตช์ที่วาด on location กัน เพื่อให้ดูว่า เห้ย! พอถึงเวลาที่ไปวาดเนี่ย มันไม่จำเป็นต้องเขียนเยอะแบบข้างบนนะ(เพราะบางอันเยอะกว่า 555555) มันยังมีอีกหลายรูปแบบที่ใช้วาดวัดได้ และลองสังเกตว่าโบสถ์-วิหารในมุมมองและระยะที่แตกต่างกันนั้นจะวาดออกมายังไง

อย่าลืมว่าพื้นฐานก็ยังเป็นสิ่งสำคัญเสมอฮะ อย่าลืมฝึกฝน และยิ่งกว่านั้น สีน้ำยังเป็นเรื่องของทัศนคติด้วย ถ้าเราไม่ปิดใจกับมันไปซะก่อน

เราจะทำมันได้ ในซักวันหนึ่งแน่นอนฮะ

 

ไว้พบกันใหม่ ในคอลัมน์หน้า ซึ่งไม่รู้จะเป็นหัวข้ออะไร 555

สวัสดีครับ 

 

 

IMG_1561

อันนี้เขียนค่อนข้างใหญ่ (A3) แต่เรื่องที่ใหญ่กว่านั้นคือการใช้เส้น
หลายๆครั้งที่อุปกรณ์มีผลมากๆ อย่างรูปนี้ใช้ปากกาพู่กัน ซึ่งให้เส้นที่ใหญ่พอที่เราจะไม่ต้องคัดรายละเอียดยิบย่อยมากๆ แต่ก็จะมีวิธีการใช้แตกต่างกับปากกาตัดเส้นทั่วไป

เพราะฉะนั้น ถ้าวาดไปนานๆ เกิดเบื่อขึ้นมา ลองเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ดู จะช่วยได้ฮะ

 

img125

ถ้าเราเข้าใจสัดส่วนและภาพรวม จะช่วยได้มากเวลาทำ quick sketch

 

img074

ตัวอย่างของหลังคาที่มีการซ้อนชั้นเยอะๆ แต่มันก็คือการซ้ำของ pattern นั่นเอง

 

img124

เส้นรวยระกาเนี๊ยบๆที่เคยเขียนจะคลายตัวลงเมื่อเป็นการวาด on location (โดยเฉพาะตอนที่แสงใกล้หมด :D)

 

IMG_1392

การเขียนปล่อยเส้น ให้เห็นพื้นที่สีวิ่งเยอะๆ ก็เป็นเทคนิคที่น่าลองทำ

 

IMG_1672

นอกจากรายละเอียดของเส้นต่างๆ สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการลงสีแสงเงา

ถ้าอยากฝึกวาดวัด ลองไปนั่งวาดที่วัดโพธิ์บ่อยๆนะ

 

wangnar

National Museum

2รูปนี้วาดที่เดียวกัน แต่ห่างกันประมาณ 3ปี

ดูการปล่อยเส้นของศาลาเล็กๆ (รูปล่าง) ว่าสำหรับระยะไกลๆแล้ว วาดแค่นี้ก็ได้เหมือนกัน

 

Loha Prasat

หากอ่านแล้วถูกใจชอบใจ ฝากกดแชร์ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ \( - 3-)/
Louis

สถาปนิกตัวเล็กๆคนนึง เชื่อว่าทุกคนสามารถวาดรูปให้ดีได้ เพียงแค่ชอบมันเท่านั้นเอง

เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/lllouissketcher